เปาโล คูเอลญูเขียนไว้ในค�ำน�ำว่า “...ชีวิตของผมตลอดสิบปีผมศึกษาการเล่นแร่แปรธาตุ ความคิดง่ายๆ ของการเปลี่ยนโลหะให้เป็นทองค�ำ หรือการค้นพบ‘ยาอายุวัฒนะ’ เป็นเรื่องที่น่าทึ่งเกินกว่าที่ผู้เริ่มเรียนเรื่องอ�ำนาจวิเศษ ไม่ว่าคนใด จะปล่อยไปเฉยๆ โดยไม่ให้ความสนใจ...” ถ้าพิจารณาเพียงตรงนี้เราก็อาจเข้าใจได้ไม่ยากว่า ขุมทรัพย์สุดปลายฝัน จึงเป็นเรื่องราวของนักเล่นแร่แปรธาตุที่เดินตามความฝันตัวเองเหมือนดังที่เปาโลเขียนไว้ในบทเริ่มต้นว่า “...ชายนักเล่นแร่แปรธาตุหยิบหนังสือที่ใครคนหนึ่งในกองคาราวานน�ำติดตัวมาขึ้นมาดูเป็นหนังสือไม่มีปก แต่เขาสามารถระบุชื่อผู้แต่งได้ว่า คือ ออสการ์ไวลด์...” ขณะเดียวกัน จุดมุ่งหมายในการเขียนหนังสือก็ไม่ได้มีเพียงแต่การบอกเล่าเรื่องราวของความสนใจส่วนตัวของเปาโลเองเท่านั้น แต่ยังเป็นการตั้งค�ำถามที่เขาได้เขียนไว้อีกว่า “...คนเราจะยอมรับความจริงก็ต่อเมื่อตอนแรกเราปฏิเสธมันก่อนจากเบื้องลึกแห่งจิตใจของเรา ได้เรียนรู้ว่าเราไม่ควรหลีกหนีชะตาชีวิตของตัวเราเอง และพระหัตถ์ของพระเจ้าช่างเมตตากรุณาไม่มีที่สิ้นสุด...” เช่นนี้แล้ว จึงอาจกล่าวได้ว่า ขุมทรัพย์สุดปลายฝัน อาจจะเป็นเรื่องราวของนักเล่นแร่แปรธาตุในยุคสมัยที่ความเชื่อเหล่านี้ยังเป็นจริง แม้ในชนบทห่างไกล และความฝัน แม้จะอยู่สุดปลาย แต่การได้ฝัน และการได้ท�ำตามความฝัน อาจเป็นเรื่องที่ส�ำคัญที่สุดเท่าที่ชีวิตหนึ่งของคนเราได้เกิดมา