พระกริ่งโสฬส มปร. ปี15 วัดราชประดิษฐ์ กทม. ของดีราคาถูกที่น่าบูชา พระกริ่งดี พิธียิ่งใหญ่ แต่ขาดการประชาสัมพันธ์ประชาชนจึงไม่ทราบ ทำให้ผู้คนต้องจ่ายเงินเกินความเป็นจริง และหลงเช่าพระเครื่องแบบตามน้ำ...
พระกริ่ง มปร วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหารปี 2515 ชื่อเดิมคือ “วัดราชประดิษฐ์สถิตธรรมยุติการาม” เรียกสั้นๆว่าวัดราชประดิษฐ์ฯ เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 4 และเป็นพระอารามแห่งแรกของคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติ ซึ่งรัชกาลที่4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ภายในวัดมีศิลปะในยุครัตนโกสินทร์งดงามตระการตาให้ชมมากมาย มีจิตรกรรมฝาผนังภาพการชมสุริยุปราคาในสมัยรัชกาลที่4 และเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธสิหิงค์ด้วยเมื่อสร้างวัดราชประดิษฐ์ ฯ เสร็จเมื่อปี พ.ศ.2408 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้โปรดเกล้าฯ ให้อาราธนาพระสาสนโสภณ จากวัดบวรนิเวศฯ มาครองวัดราชประดิษฐ์ฯ เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ซึ่งต่อมาภายหลังในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้ทรงดำรงตำแหน่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม เมื่อปีพ.ศ.2436 ถึงปีพ.ศ.2442 รวม 6 พรรษา ประวัติของสมเด็จพระสังฆราช(สา ปุสฺสเทโว) เมื่อย้อนไปเมื่อพระชนมายุได้ 18 ปี ทรงแปลพระปริยัติธรรม 9 ประโยค ได้เป็นเปรียญเอกตั้งแต่ยังทรงเป็นสามเณร นับเป็นสามเณรองค์แรกที่ได้เป็นเปรียญ 9 ประโยคในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาได้ลาสิกขาไปเป็นฆราวาสอยู่พักหนึ่ง และเมื่อพระชนมายุได้ 38 ปี ได้กลับมาอุปสมบทใหม่ ว่ากันว่า ได้ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรมอีกครั้งหนึ่ง และทรงแปลได้หมดทั้ง 9 ประโยค จึงมีผู้กล่าวถึงพระองค์ด้วยสมญานามว่า "สังฆราช 18 ประโยค"(โสฬส)
ในปีพ.ศ.2515 เพื่อเป็นที่ระลึกแก่ศิษย์ยานุศิษย์ในการฉลองวัดครบรอบ 108 ปี ทางวัดได้จัดสร้างวัตถุมงคล พระกริ่งโสฬส, เหรียญพระนิรันตรายแบบพัดยศและแบบเสมา ได้มีการจัดพุทธาภิเษก ในพระอุโบสถวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามเป็นเวลา 9 วัน 9 คืน
พระกริ่งโสฬสเป็นพระกริ่งที่ฉีดชักกริ่งในตัว เนื้อทองเหลือง และรมดำ (บางองค์ก็ไม่มีเสียงกริ่ง) ชนวนที่นำมาหลอมฉีดพระกริ่ง และเหรียญ ได้นำมาจากคณาจารย์ ชื่อดังทั่วทั้ง ๔ ภาคของประเทศไทย ในการหลอมยันต์ในครั้งนี้ใช้เวลาในการหลอมเป็นเวลานานมาก เพราะยันต์ของคณาจารย์บางท่านกว่าจะหลอมละลายได้ ต้องใช้เวลานานพอสมควร ตามธรรมดาแล้ว แผ่นทองเหลือง, แผ่นทองแดง เมื่อใส่ลงในเบ้าหลอมแล้วก็จะละลายโดยง่ายดาย แต่ยันต์ที่นำมาหลอมทำพระกริ่ง และเหรียญพระนิรันตรายนั้นหลอมละลายได้ยากมาก
รูปแบบของพระกริ่งโสฬส เป็นพระกริ่งฉีดวรรณะ เนื้อทองเหลืองรมดำ ถอดแบบมาจากพระกริ่งสายวัดสุทัศน์ ด้านหลังมีพระนามย่อของรัชกาลที่ 4 มปร. เนื้อเหลืองกะหลั่ยทอง แจกกรรมการ สร้าง 3000องค์ ทองแดงรมดำ จำนวนสร้าง 50,000 องค์ ตั้งแต่วันที่ 16-24 พฤศจิกายน 2515 โดยได้นำชนวนมาจาก การเททองหล่อพระนิรันตรายรุ่นแรก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเททองในการครั้งนี้สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ได้เมตตามาเป็นประธานในการจุดเทียนชัย และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระสุหร่ายวัตถุมงคล รวมพระเกจิ 108 รูป อาทิ
หลวงปู่ดู่ วัดสะแก จ.อยุธยา หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จ.ระยอง
นอกจากนี้ยังมีพระคณาจารย์สายวิปัสสนาทั้ง ๔ ภาคร่วมนั่งอธิษฐานจิตปลุกเสกเป็นเวลา ๙ วัน ๙ คืน นับว่าเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ที่หาได้ไม่ง่ายนักในสมัย ๓๕ ปีที่ผ่านมา (พระคณาจารย์ที่ร่วมปลุกเสกส่วนมากจะมรณภาพเกือบทุกรูปแล้ว) รูปแบบของพระกริ่งนั้น ด้านหน้าเป็นฐานกลีบบัว ด้านหลังประดิษฐานพระปรมาภิไธยย่อ “ม.ป.ร” รูปแบบเหรียญพระนิรันตรายแบบเสมาด้านหน้าเป็นรูปพระนิรัตราย ด้านหลังมีตราประจำวัด (ตราพระราชลัญจกรของรัชกาลที่ ๔) และประดิษฐานพระปรมาภิไธยย่อ “ม.ป.ร” ซึ่งเป็นพระนามย่อของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๔ กล่าวได้ว่าพระกริ่งโสรสรุ่นนี้เป็นสิ่งล้ำค่าหาได้ยาก ผู้ใดมีไว้บูชาจะเป็นศิริมงคลอย่างยิ่ง หลวงปู่โต๊ะฯ ท่านได้เคยกล่าวกับลูกศิษย์ใกล้ชิดว่า พระกริ่งรุ่นนี้ดีมาก ใช้แทนวัดสุทัศน์ พ.ศ.ลึกๆ ได้เลย ..ฯลฯ...