สิ่งที่มนุษย์แสดงความคิดเห็นออกมาด้วยค าพูดเราเรียกว่าภาษา ภาษาเป็นเครื่องมือที่จะ
ถ่ายทอดความนึกคิดของมนุษย์จากตนเองไปยังบุคคลอื่น พระยาอนุมานราชธน ท่านได้กล่าวว่า
“ภาษากล่าวอย่างกว้าง ๆ คือวิธีการท าความเข้าใจระหว่างคนกับคน วิธีความเข้าใจกัน ย่อมได้หลาย
วิธีสุดแล้วแต่จะสามารถท าให้เข้าใจกันได้” เอ็ดเวิร์ด ซาเบียร์ นักภาษาศาสตร์ชาวอเมริกันกล่าวว่า
เป็นวิธีการของมนุษย์ในการที่จะแสดงให้ผู้อื่นได้รู้ถึงความคิด ความรู้สึก และความต้องการของตน
ด้วยการใช้สัญลักษณ์ที่ตกลงกันใช้ในกลุ่มชนนั้นสัญลักษณ์นั้นจะต้องใช้อวัยวะในการออกเสียง
สร้างขึ้นมา และมีผู้รับรู้เข้าใจตรงกัน ทั้งมนุษย์และสัตว์ ถ้ามุ่งหมายใช้สัญลักษณ์ดังกล่าวเพื่อการ
ติดต่อสื่อสารกันแล้วก็จัดได้ว่าเป็นภาษาด้วยกันทั้งนั้น (จินดา งามสุทธิ. 2524 : 2)
ภาษาไทยนับว่าเป็น เอกลักษณ์ ที่ส าคัญที่สุด ซึ่งแสดงให้เห็นความเป็นไทยของเรา
ภาษาไทยมีทั้งภาษาพูด และ ภาษาเขียน โดยเฉพาะภาษาเขียนนั้น ได้มีภาษาต่างประเทศเข้ามา
ปะปนอยู่มาก ทั้งภาษาบาลี สันสกฤต มอญ เขมร จีน อาหรับ และภาษาฝรั่งเศส ฯลฯ
(นิตยา กาญจนะวรรณ. 2539 : 1) ในระหว่างภาษาพูดกับภาษาเขียนนั้น ปัญหาที่มีมากที่สุดก็คือ
ภาษาเขียน ว่าควรจะเขียนอย่างไรจึงจะถูกตามพจนานุกรม ในการพูดนั้น แม้จะพูดผิดเพี้ยนกันไป
บ้างก็พอฟังเข้าใจ ในด้านการเขียน ก่อนที่จะมีปทานุกรมหรือพจนานุกรมออกมาเป็นทางราชการ
ค าบางค าอาจเขียนไม่เหมือนกัน หรือเขียนไม่ตรงกัน เช่น ค าว่า ละคร เป็นต้น
(นิตยา กาญจนะวรรณ. 2539 : 74)