คำว่า “ภาษา” เดิมเป็นคำสันสกฤต มาจากรากศัพท์หรือธาตุว่า ‘ภาษ’ บาลีว่า “ภาสา” คนไทยรับเข้ามาใช้ในรูปของคำว่า “ภาษา” ซึ่งมีความหมายในภาษาเดิมทั้งสองว่า “ถ้อยคำ” หรือ “คำพูด” (สนิท ตั้งทวี : ๒๕๒๘ , หน้า ๑)
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายไว้ว่า คือ เสียงหรือกิริยาอาการที่ทำความเข้าใจกันได้, คำพูด, ถ้อยคำที่ใช้พูดกัน โดยปริยายหมายถึง คนหรือชาติที่พูดภาษานั้น ๆ เช่น นุ่งห่มและแต่งตัวตามภาษา หรือหมายความว่า มีความรู้ ความเข้าใจ
ความนัยแห่งพจนานุกรมนั้น เป็นความหมายภาษาในวงกว้าง คือหมายถึง สื่อต่าง ๆ ที่ทำให้สามารถสื่อสารทำความเข้าใจกันได้
การสื่อสารทำความเข้าใจกันนี้มีหลายวิธี เช่น
๑. ใช้กิริยาอาการหรือท่าทาง เรียกว่า ภาษาใบ้หรือภาษาท่าทาง
๒. ใช้เสียงที่เปล่งออกมา เรียกว่า ภาษาพูด