แนะนำขั้นตอนการผลิต "เสื้อผ้าแฟชั่น" สำหรับงานแฮนเมด ครับ ติดต่อทีมงาน
ช่วงนี้เหมือนกระแส ทำอาชีพส่วนตัวจะมาไม่ขาดสาย หลายๆคนอยากเปิดร้านในแบบที่ตนชอบ เช่นร้านกาแฟ สปา PETShop ร้านแซนวิชอาหารเช้า และร้านเสื้อผ้าแฟชั่น
พอดีผมพอจะมีความรู้ในส่วนของขั้นตอนการผลิต "เสื้อแฟชั่น" จึงอยากจะนำมาแนะนำให้เพื่อนๆ ได้มีแนวทางขั้นตอนการเปิดร้านเสื้อผ้า ในส่วนของการผลิต เอาไว้พิจารณาบ้างครับ
เริ่มกันเลยดีกว่า
ใครบางคน ฝันอยากจะเป็นเจ้าของร้านเสื้อผ้าแฟชั่น คงต้องมีจุดเริ่มมาจากภายในตัวตนของตัวเองก่อน เช่น เป็นคนชอบวาดแบบเสื้อผ้าต่างๆในใจ เป็นคนชอบตำหนิเสื้อผ้าผู้อื่น เป็นคนชอบเสนอแนะ(ในใจ)ให้กับคนที่เดินผ่านไปผ่านมาว่าควรจะแต่งตัวอย่างนี่นะอย่างนั้นนะ เป็นคนที่บางครั้งก็ต้องสะกิดถามคนที่เจอะระหว่างทางว่าเสื้อผ้าที่เขาหรือเธอใส่อยู่หาซื้อได้ที่ไหน หรือเป็นคนที่แต่งตัวทีไรช่างดูแพรวพราว แต่งให้น่ารักก็ได้ แต่งให้สวยก็ได้ แม้แต่แต่งให้ดูเป็นทอมบอยก็ยังแต่งได้เลย
ถ้าคุณพบว่าเป็นคนแบบนั้น และอยากจะลองฝันที่จะเป็นเจ้าของร้านเสื้อผ้าแฟชั่นสักที่หนึ่ง ก็ลองมาดูขั้นตอนถัดไปครับ
ผมจะไม่พูดถึงว่าจะหาร้านที่ไหน จะทำร้านอย่างไร และการลงทุนค่าใช้จ่ายนั้นควรจะเตรียมงบไว้เท่าไหร่ เพราะในหนังสือหลายเล่ม คู่มือการเปิดร้านเสื้อผ้าก็มีแนะนำไว้ดีแล้ว ฉะนั้นเราจะมาดูในส่วนของขั้นตอนการผลิตนะครับ
_______________________________________________________
การผลิตเสื้อผ้าแฟชั่น มีขั้นตอนพื้นฐานดังนี้
1. ออกแบบ : ซึ่งเมื่อออกแบบเสร็จจะช่วยให้รู้ว่าอยากได้ผ้าชนิดใด เนื้อผ้าใด ปริมาณผ้าขนาดไหน และจะไปหาได้จากที่ไหน
2. ซื้อผ้า : ผ้า 1หลา จะมีราคากลางๆ อยู่ประมาณ 45-55 บาท และผ้า 1 หลา นั้น ถ้านำมาตัดเป็นเสื้อ 1 ตัว จะมีเศษผ้าเหลือ, แต่ถ้านำมาตัด แซ็ก/เดรส จะใช้ผ้า 1 หลาเศษๆ ครับ
แหล่งขายผ้า มีอยู่ที่สำเพ็ง/หลานหลวง/วัดกำแพง กม.9 ตัวอย่างสถานที่ซื้อคือ ตึกอินเดียเอ็มโพเรี่ยม/ตึกไชน่าเวิล์ด/ถนนหลานหลวง/วัดกำแพง กม.9 (ที่วัดแถว กม.9 ผมอาจจำชื่อวัดผิด เพราะเป็นแหล่งขาย "ผ้ายืด" ชั่งกิโล ซึ่งผมไม่ได้ใช้ผ้าชนิดนี้ครับ)
3. ส่งผ้าให้ช่าง ตัด/เย็บ : ตัดที่ 50-100 ตัว ร้านทั่วไปมักจะคิดค่าตัดประมาณ 2-5 บาท/ชุด ส่วนเย็บขึ้นรูปจะเป็นราคาตั้งแต่ 20-35 บาท/ชุด ครับ
ช่างอิสระจะมีอยู่เยอะนะครับ แต่ช่องทางติดต่อนั้นหายาก เพราะมันไม่เหมือนกับโรงงานการ์เม้นต์ ที่มีช่องทางทางเว็บไซส์ในการติดต่อ, บางร้านก็หาง่ายหน่อย เช่น ร้านตัดผ้าที่ทีนสะพานกรุงเทพ ที่นี่ถ้า 50 ตัว จะคิด 5 บาท/ชุด ถ้า 100 ตัว ราคาจะไม่เกิน 3 บาท
ในส่วนนี้ไม่ต้องวางเงินมัดจำนะครับ พวกให้วางเงินมัดจำ น่าจะไม่ซื่อสัตย์แระ เพราะด้วยราคาของผ้าที่ส่งให้ ก็เพียงพอที่จะรับประกันการกลับมารับผ้าของผู้จ้างอย่างเราได้แล้ว
4. เช็คเสื้อผ้าสั่งตัด ว่าเสป็คถูกต้องตามที่ตกลงไว้ ถ้าผ่านก็สามารถนำไปขายได้เลย
สรุปรวมต้นทุนการผลิตเสื้อผ้า 1 ตัว โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง (จริงๆ ค่าใช้จ่ายเดินทางน้อยมาก เมื่อนึกถึงการผลิตเสื้อผ้าต่อครั้งที่ปริมาณ 150-200 หรืออาจจะนึกไปถึง 300-500 ตัว)
_______________________________________________________
ต้นทุนดังนี้ครับ ผ้า1หลา 50 บาท + ตัดผ้า 5 บาท + เย็บ 30 บาท = 85 บาท/ตัว
_______________________________________________________
ในขั้นตอนถัดมาก็คือการขาย ซึ่งเราก็ต้องบริหารราคาขายให้แมตต์กับค่าใช้จ่ายทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างพนักงาน(อย่าลืมจ้างตัวเองด้วยค่าแรงขั้นต่ำ เพราะนั่นคือต้นทุนแฝง และไม่ควรนำมาหักจากกำไรเบื้่องต้นครับ), ค่าเช่าที่, ค่าน้ำค่าไฟ เป็นต้น
ส่วนการตัดสินใจว่าต้องการ "กำไรสุทธิ" เท่าไรต่อตัว แล้วนำไปบวกลงเป็นราคาขายเสื้อผ้า คงเป็นไปไม่ได้ครับ เพราะจริงๆ แล้ว จะกำไรเท่าไรนั่นไม่มีทางเลือกครับ เพราะสถานที่และทำเล จะเป็นคนควบคุมราคาขายของเราเอง ซึ่งเมื่อผ่านการตั้งราคาตรงนั้นมาแล้วจึงจะทำให้รู้ว่ากำไรเท่าไร เป็นที่พอใจไหม ยอมรับทำเลนั้นๆได้หรือเปล่า
เสื้อผ้าที่ตั้งราคาได้ตามใจชอบ นอกจากการมีแบรนด์รอยัลตี้แล้ว ก็คงจะต้องเป็นเสื้อผ้าที่มีเอกลักษณ์อย่างแรง เป็นเทรนด์ใหม่ ติดตลาด และยังไม่มีมีใครเหมือน หรือยังไม่มีใครก็อปเหมือน
ฝากคำพูดสุดท้ายครับ "จงอย่าขายเสื้อผ้า แต่จงขายเรื่องราวของมัน" Stay don't sale Cloth. Stay sale Story.
----------------------------------------------------------------------------------
ปล. หากมีข้อมูลผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้