[ ชื่อพระ ] พระกริ่งอุบาเก็ง หลวงปู่ทิม วัดเอี่ยมวรนุช ๒๕๐๖
[ รายละเอียด ] พระกริ่งอุบาเก็ง หลวงปู่ทิม วัดเอี่ยมวรนุช เป็นพระเครื่องที่หลวงปู่ทิม(พระครูวิสัยโสภณ) วัดช้างไห้ได้สร้างขึ้นไว้เมื่อปี 2506 โดยหลวงปู่ทิมเป็นเจ้าพิธีในการสร้าง ทำพิธีเททองที่วัดเอี่ยมวรนุช เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2506 มีจอมพล ประภาส จารุเสถียร เป็นประธานฝ่ายฆารวาส โดยถอดพิมพ์จากพระกริ่งอุบาเก็งองค์ต้นแบบจากท่านจอมพล ประภาส จารุเสถียร จัดสร้างขึ้นที่วัดเอี่ยมวรนุช โดยท่านจอมพลประภาส จารุเสถียร ได้นำปลอกกระสุนปืนที่ยิงแล้วมาจากจากกรรมสรรพวุธทหารบก เหลือแต่ปลอกทองเหลืองเป็นวัตถุดิบหล่อหลอมในการจัดสร้าง โดยมีชนวนพระกริ่งเก่าจากวัดสุทัศน์ ทองคำแท้หนักกว่า 50 บาท จากผู้มีจิตศรัทรา แผ่นยันต์จากพระเกจิอาจารย์สายใต้ เศษเครื่องทองเหลืองเก่าสมัยโบราณ ที่ชำรุดผุพังแล้วจากชาวบ้านมาเป็นส่วนผสมในการจัดสร้าง เมื่อเททองเสร็จ อ.ทิม ก็ได้นำกลับไปปลุกเสกที่วัดช้างให้อีกโดยมีพระเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมพิธีหลายองค์ เช่น หลวงพ่อแดง วัดนาประดู่ และอาจารย์นอง วัดทรายขาว เป็นต้น และท่านอ.ทิมได้อัญเชิญดวงวิญญาณหลวงปู่ทวดมาทรงอธิฐานจิตด้วย หลังจากนั้นท่านอ.ทิมยังปลุกเสกเดี่ยวให้อีก 9 วัน 9 คืน. นอกจากนี้ยังมีการสร้างพระพิมพ์เนื้อผงผสมผงสมเด็จบางขุนพรหมพิมพ์ต่างๆร่วมจัดสร้างในครั้งนั้นอีกด้วยครับ พระกริ่งอุบาเก็งวัดเอี่ยมวรนุช 2506 รุ่นนี้ พระบางองค์แก่ทองคำ เนื้อจะออกสีสุกปลั่งทีเดียวครับ บางองค์กระแสโลหะออกแดงก็มี จากประสบการณ์จากผู้ที่นำไปใช้บอกต่อๆกันมาว่าพระกริ่งอุบาเก็งวัดเอี่ยมวรนุชรุ่นนี้มีพุทธาคุณเด่นในทางเมตตามหานิยมและแคล้วคลาด เช่นเดียวกับพระหลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ 2497 เลยทีเดียว แถมราคายังพอเอื้อมถึง และสร้างด้วยเนื้อโลหะไม่ชำรุดง่ายเหมือนเนื้อผงผสมว่าน น่าบูชาติดตัวยิ่งนักครับ
*ข้อควรสังเกตของพระกริ่ง วัดเอี่ยมวรนุช*
1.พระกริ่ง วัดเอี่ยมวรนุชนี้ ใช้วิธีการสร้างแบบโบราณ คือถอดหุ่นเทียนองค์พระ ทีละองค์และนำมาเข้าเป็นช่อและจึงใช้ดินขี้วัวพอก เมื่อหล่อเป็นองค์พระออกมาจึงทำให้มีเม็ดทรายเล็ก ๆ เกาะฝังในองค์พระไม่มากก็น้อย
2.เมื่อตัดออกจากช่อแล้ว จึงนำมาแต่งและเจาะก้นเพื่อบรรจุเม็ดกริ่ง แล้วใช้โลหะปิดทับทำให้เห็นรอยอุดชัดเจน ส่วนใหญ่โลหะที่ใช้ปิดก้นพระกริ่งจะเป็นทองแดง จึงทำให้เห็นความแตกต่างชัดเจน แต่แบบที่ใช้ทองเหลืองปิดก้นก็มีแต่จะพบเจอน้อย
3.ใต้ฐานส่วนใหญ่จะต้องไม่มีรอยตะไบ เพราะเมื่อใช้โลหะปิดก้นเสร็จแล้วจะใช้เครื่องขัดด้วยยาแดงขัดหน้าจึงทำให้ฐานเรียบมนสวยงาม
4.เนื่องจากโลหะที่ใช้หล่อพระชุดนี้มีส่วนผสมของทองคำมาก จึงทำให้เนื่อออกมันแววไม่เหลืองซีดเหมือนทองเหลืองทั่วไป