1. ป้านชา (หรือปั้นชา) ส่วนใหญ่นิยมเป็นป้านดินเผา เพราะเชื่อว่าจะสามารถขับสี กลิ่น รส ออกมาได้อย่างเต็มที่ นิยมชงในป้านเล็กขนาดเท่ากำปั้น
2. จอกชา เป็นจอกขนาดเล็ก ด้านในควรเป็นสีขาว เพื่อที่จะสามารถมองเห็นสีน้ำชาได้อย่างชัดเจน และปากจอกควรบานออก เพื่อที่จะสามารถ จับยกขึ้นดื่มได้ เวลามีน้ำชาร้อนๆ อยู่ในถ้วย
3. เหยือกพักน้ำชา เนื่องจากการแช่ชาไว้ในป้านนานๆ จะทำให้สารชนิดหนึ่ง เรียกว่า "แทนนิน" (tannin) คือสารที่มีรสฝาด ซึ่งจะส่งผลต่อกระเพาะอาหาร ทำให้รู้สึกท้องอืดและท้องผูก การชงชาถ้าแช่ชาในป้านนานๆ สารแทนนินก็จะออกมามาก จึงควรแช่ชาในป้านชา ประมาณ 1-2 นาที แล้วเทพักไว้ที่เหยือกพักน้ำชาและรินใส่จอกจากเหยือกจะดีกว่า (ชาที่ชงรอบที่ 3 ขึ้นไป อาจเพิ่มเวลาขึ้นอีก รอบละ "15 วินาที" แต่เวลาการแช่ชาทั้งหมด "ไม่ควรเกิน 5 นาที")
4. ที่กรองชา เอาไว้กรองเศษใบชา จะใช้หรือไม่ใช้ก็ได้เพราะใบชาสามารถทานได้ เศษใบชาก็ทานได้ ไม่เป็นอันตราย แต่หากชอบให้น้ำชาใสไม่มีตะกอนก็ใช้ที่กรองชาได้
5. ถ้วยปากกรวย ใช้เพื่อเพิ่มความสะดวกในการเทใบชาลงป้าน
6. อุปกรณ์สำหรับ ตัก-คีบ