พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ (สี่มุมเมือง) 1 โค๊ต
รายละเอียด
พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ (สี่มุมเมือง) 1 โค๊ต หน้าใหญ่
วัตถุมงคลชิ้นนี้เป็นวัตถุมงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน เสด็จพระราชดำเนินทรงเททองหล่อองค์พระพุทธรูป และพระชัยวัฒน์ วัตถุมงคลองค์น้อย ซึ่งมีประสบการณ์เหนือธรรมชาติมากด้วยเรื่องช่วยชีวิต เป็นพระเครื่องที่กรมรักษาดินแดนได้ทำการจัดสร้างเมื่อวันที่ 1-2 สิงหาคม 2511 มีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องเหนือธรรมชาติ ซึ่งช่วยชีวิตผู้ที่พกพานำท่านติดตัวไว้มากที่สุด มากกว่าพระเครื่องอื่นใด ที่ได้สร้างมาหลังปี พ.ศ.2500 จวบจนกระทั่งปัจจุบัน สำหรับประวัติคร่าวๆ ในครั้งนั้น กรมการรักษาดินแดนสวนเจ้าเชตุ กรุงเทพ ได้ดำเนินการสร้างพระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศขึ้นเพื่อสืบต่อตามรอยประเพณีบ้านเมืองเกี่ยวกับการสร้างพระพุทธรูป แบบ"จตุรพุทธปราการ" ซึ่งหมายถึงการสร้างวัดและสร้างพระพุทธรูปไว้ สี่มุมเมือง จากความสำคัญของพระนิรโรคันตราย อันเป็นพระพุทธรูปประจำรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว นี้เองทางกรมการรักษาดินแดนได้อนุสรณ์คำนึงถึงพระราชศรทธาในการสร้างพระพุทธรูปดังกล่าว จึงเห็นควรน้อมเกล้า ด้วยความจงรักษ์ภักดียิ่งขึ้นและดำเนินตามรอยพระยุคลบาทประเพณีแห่งอดีตบุรพกษัตริย์ของไทยเรามาแต่โบราณ ที่ได้สร้างพระพุทธปฏิมาไว้ 4 มุมเมือง เพื่อการปกป้องและเพิ่มเกณฑ์ชะตาของบ้านเมือง ตลอดถึงพสกนิกรที่อยู่ใต้ร่มพระบารมีให้มีความอยู่เย็นเป็นสุข ปราศจากโรคาพยาธิภัยพิบัตินานาประการ จึงได้มีมติสร้างพระพุทธรูปนิรโรคันตรายชัยวัตน์จตุรทิศ เป็นเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองทั้ง 4 ทิศ พอสร้างเสร็จได้นำประดิษฐานไว้ในทิศทั้ง 4 ของประเทศไทยคือทิศเหนือ นำไปประดิษฐานจังหวัด ลำปาง ทิศใต้ นำไปประดิษฐานไว้ที่จังหวัดพัทลุง ทิศตะวันตก ประดิษฐานจังหวัดสระบุรีทิศตะวันออก นำไปประดิษฐานจังหวัดราชบุรี “พระชัยวัฒน์รุ่นนี้เป็นพระที่ปลุกเสกโดยเกจิทางใต้ โดยจัดสร้าง เนื้อเงิน ๑๐๐ องค์ และเนื้อทองเหลือง ๙,๐๐๐ องค์ สร้างโดยการปั๊ม เกจิอาจารย์ที่นั่งปลุกเสกได้แก่
๑.พระอาจารย์นำ
๒.หลวงพ่อเล็ก วัดประดู่เรียง
๓.หลวงพ่อ ปาล วัดเขาอ้อ
๔.หลวงพ่อเจ๊ก วัดเขาตะวันตก
๕.หลวงพ่อหมุน วัดเขาตะวันออก
๖.หลวงพ่อ เขียว วัดหรงบน
๗.หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง
๘.หลวงพ่อมุ่ย วัดป่าระกำเหนือ
๙.หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน
และยังมีเกจินั่งสวดพระพุทธมนต์อีก ๙ รูป
๑.หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน
๒.หลวงพ่อแสง วัดคลองน้ำเจ็ด
๓.หลวงพ่อจันทร์ วัดท่งเฟื้อ
๔.หลวงพ่อวัน วัดปากพยูน
๕.หลวงพ่อแก่น วัดทุ่งหล่อ
๖.หลวงพ่อพลับ วัดชายคลอง
๗.หลวงพ่อแก้ว วัดโคกโดน
๘.หลวงพ่อพุ่ม วัดน้ำผุดใต้
๙.หลวงพ่อช้วน วัดตันติยาภิรม