ด้านหลังเหรียญเทวบดี ประทับไว้ด้วยพระยันต์มหาจักพรรตราธิราชซึ่งนับเป็นพระยันต์ศักดิ์สิทธิ์ และมีพุทธานุภาพสุดประมาณมีความเป็นมาและรายละเอียดดังนี้
พระยันต์มหาจักพรรตราธิราชนี้ต้นตำหรับเดิมประดิษฐานอยู่ ณ วัดประดู่โรงธรรม กรุงเก่าสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ตามตำรากล่าวไว้ว่า พระพรหมมุนี อยู่วัดปากน้ำประสบได้ลงเป็นตะกรุดคำถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเจ้ามาแล้ว จนกระทั่งพระองค์ได้ครองเมืองลพบุรี สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นพระราชโอรสสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เมื่อทรงได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ได้พระตำรานี้มาจากมหาเถรเทียรราชวัดงู มาจากพระพิชัยวัดท่างูเห่ากับได้มาจากพระอาจารย์คงโหร และได้มาจากท่านอาจารย์ผู้วิเศษสืบๆ มาหาที่อุปมามิได้ต่อมาภายหลังในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้เคยได้มีการประกอบ พิธีลงยันต์ตะกรุดนี้ถวายสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ซึ่งทรงให้มีกาลประกอบพิธีสร้างตะกรุดมหาจักรพรรตราธิราช
อนึ่ง ในวันที่ 2 - 3 พ.ค. 2542 หลวงพ่ออิฏฐ์ ได้ลงยันต์ตะกรุดมหาจักรพรรตราธิราชในแผ่นทองคำ ในพิธีจักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก ณ อุโบสถ วัดศรีมหาธาตุวรวิหาร เพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจากนั้นก็ได้เลิกลงแผ่นยันต์มหาจักรพร รตราธิราช และจัดสร้างเหรียญนี้ขึ้นโดยมีพระยันต์มหาจักรพรรตาธิราชอยู่ด้านหลังเหรียญ “ เทวบดี ” แทน
พิธีประจุพุทธาคมเดี่ยวจากหลวงพ่ออิฎฐ์ ตลอดไตรมาส และยังนำเหรียญเทวบดีทั้งหมดเข้าร่วมในพิธีมหาพุทธาภิเษก พระพุทธชินราชจำลอง รุ่น ญส.ส. ณ พระวิหารหลวง วัดพระศรีมหาธาตุวรวิหาร จ.พิษณุโลก ในวันพฤหัสบดีที่ 23 พฤศจิกายน 2543 อีกครั้งหนึ่ง นับเป็นเหรียญที่ควรค่าแก่การบูชาสักการะ เพื่อความเป็นสิริมงคลอย่างที่สุด เพราะนอกจากจะมีความสวยงามในด้านการพิมพ์ ซึ่งในตัวเหรียญล้วนแล้วแต่เป็นมหาเทพผู้ทรงอิทธิฤทธิ์บุญฤทธิ์ ส่วนในด้านการประจุพุทธาคมก็กระทำกันอย่างเพียบพร้อมสมบูรณ์
จำนวนสร้าง - เหรียญเทวบดี เนื้อทองคำ จำนวนสร้าง 30 องค์
- เหรียญเทวบดี เนื้อเงิน จำนวนสร้าง 1,000 องค์
- เหรียญเทวบดี เนื้อนิเกิ้ล (อัลปาก้า) จำนวนสร้าง 40,000 องค์
หลวงปู่หมุนร่วมเสกครับ
*โอนเงินแล้ว แจ้งที่ mail box ด้วยครับ เพื่อสะดวกต่อการจัดส่ง ขอบคุณครับ*