Q: สิ่งที่ได้สัมผัสจากการทำงานกับชาวบ้าน กับชุมชน อะไรคือสิ่งที่เราต้องแก้ไขเพื่อช่วยให้สังคมเข้มแข็งขึ้น และจุดแข็งของสังคมบ้านเราคืออะไรที่ควรจะดึงขึ้นมาใช้เพื่อสร้างศักยภาพให้เกิดขึ้น?
A: ที่ใกล้ตัวที่สุดก็คือเรื่องของความเข้าใจระหว่างชุมชนชนบทกับชุมชนเมือง แม้กระทั่งทีมงานของเราเองที่ร่วมกันสร้างขึ้นมา บอกตรงๆ เขามาด้วยใจจริงๆ เริ่มแรกที่เขาสนใจก็ประมาณว่า พี่ผมอยากไปเที่ยว ผมก็พาเขาไปเสร็จปุ๊บ เขาก็มาบอกว่าพี่ผมทำกับพี่ต่อนะ ผมก็บอกเขาว่าโอเคเราเข้าไปทำตรงนี้หน้าที่เราคือไปรับฟัง ซึ่งทำให้เขาเรียนรู้อะไรมากขึ้น เหมือนกับเขาได้เรียนรู้จากสภาพแวดล้อมในชุมชน ใจเย็นลง การได้ไปฟังลุงๆ พี่ป้าน้าอาที่หมู่บ้านเขาพูด เขาได้รู้ว่าเออสนุกว่ะ ถึงแม้ชาวบ้านจะมีการศึกษาไม่เท่ากับคนในเมือง แต่สิ่งที่เขามีคือเรื่องภูมิปัญญาชาวบ้าน การเรียนรู้ธรรมชาติ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนในเมืองไม่รู้ เอาง่ายๆ เลยถ้ามีปัญหาเรื่องอะไรสักอย่างขึ้นมา เช่น เรื่องความมั่นคงทางอาหาร คนที่อยู่รอดคือชุมชนชนบทนะ คนกรุงเทพฯ ตายหมดแล้ว แม้กระทั่งเรื่องภัยธรรมชาติเอง ชุมชนเขาเรียนรู้ที่จะอยู่รอด โอเคเรื่องโครงสร้างบ้านอะไรอาจจะพังได้ง่ายกว่าของคนกรุงเทพฯ แต่ถามว่าสิ่งที่เขาถูกปกป้องมาจากธรรมชาติมันดีกว่า เพราะชุมชนมันดีกว่า เพราะฉะนั้นสิ่งหนึ่งที่คนเมืองชอบมองเรื่องชุมชนชนบทว่าไม่มีความรู้ ไม่มีการศึกษา แต่การศึกษาอาจจะไม่ใช่คำตอบในชีวิตก็ได้ การศึกษาอาจจะจำเป็นในระดับหนึ่งในเรื่องการอ่านเขียน แต่ถามว่าประสบการณ์ชีวิตที่ทำให้คุณเอาตัวรอดได้อาจจะไม่ใช่การศึกษาในมุมมองของชุมชนนะ สิ่งที่ทำให้อยู่รอดของคนเมืองคือเรื่องการศึกษา แต่ถ้าในชุมชนมันอาจจะไม่ใช่ ผมอยากจะลดช่องว่างตรงนี้ให้มันแคบลง อยากเอาสิ่งที่เรียนมาในเรื่องการบริหารจัดการแบบยั่งยืนกับความรู้ที่ชุมชนมีในเรื่องการบริหารจัดการตัวเองมารวมกันเพื่อสร้างสิ่งที่เป็นมูลค่าที่สุดขึ้นมา