การศึกษาโครงการจัดตั้งธุรกิจเครื่องดื่มชา : กรณีศึกษา Master Tea นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการบริโภคน้ำชาของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วน ประสมทางการตลาด (7Ps) ที่มีผลต่อการตัดสินใจบริโภคน้ำชา 3) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการ ดำเนินโครงการจัดตั้งธุรกิจร้านน้ำชาในเขตกรุงเทพมหานคร
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้บริโภคน้ำชาที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ทั้งเพศ ชายและเพศหญิง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ การใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 26 – 35 ปี มี สถานภาพสมรส มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัทหรือองค์กร เอกชน และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 30,000 บาท มีความถี่ในการบริโภคน้ำชา 2-3 ครั้งต่อ อาทิตย์ ในช่วงเวลาทำงาน ซึ่งจะเลือกบริโภคชาคำบ่อยที่สุด ลักษณะของร้านน้ำชาที่ผู้บริโภคส่วน ใหญ่ชื่นชอบ คือ เคาร์เตอร์มีที่นั่ง ราคาของน้ำชาที่คิดว่าเหมาะสม คือ 40 - 54 บาทต่อแก้ว โดย เลือกดื่มชาในสถานที่อื่น ๆ เช่น ร้านชาโดยตรง, สถานีรถไฟฟ้า, มหาวิทยาลัย ซึ่งเลือกดื่มชาด้วย ตัวเอง เหตุผลที่เลือกใช้บริการร้านน้ำชาเพราะตั้งใจมาดื่มชา และผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ให้ ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจบริโภคน้ำชาในค้านต่าง ๆ 1) ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ( = 3.97) โดยให้ความสำคัญกับรสชาติและความหอมของน้ำชา ในระดับมาก ที่สุด 2) ปัจจัยด้านราคา ( = 4.02) โดยให้ความสำคัญกับราคามีความเหมาะสมกับคุณภาพของน้ำ ชา ในระดับมาก 3) ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ( = 4.24) โดยให้ความสำคัญกับที่ตั้งของ ร้านหาได้ง่าย ในระดับมากที่สุด 4) ปัจจัยด้านการส่งเสริมการขาย ( = 3.45) โดยให้ความสำคัญกับ การสะสมยอด เพื่อแลกของรางวัล ในระดับมาก 5) ปัจจัยด้านพนักงาน ( = 4.05) โดยให้ ความสำคัญกับพนักงานมีความกระตือรือร้นในการให้บริการ ในระดับมาก 6) ปัจจัยด้านลักษณะทาง กายภาพ ( = 4.14) โดยให้ความสำคัญกับความสะอาดของสถานที่ และอุปกรณ์ที่ใช้ชงชา ในระดับ มากที่สุด 7) ปัจจัยด้านกระบวนการให้บริการ ( = 4.16) โดยให้ความสำคัญกับให้บริการด้วยความถูกต้องและแม่นยำ ในระดับมากที่สุด การตัดสินใจบริโภคน้ำชาของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ( x = 3.87) โดยตัดสินใจที่จะบริโภคน้ำชาเมื่อเห็นว่ามีรายการน้ำชาและอาหารที่ท่านอยาก รับประทานในร้าน ในระดับมากที่สุด
ผลการทดสอบสมมติฐานงานวิจัย พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ที่ประกอบด้วย ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านส่งเสริมการขาย และด้านกระบวนการ มี อธิพลต่อการตัดสินใจบริโภคน้ำชาของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05