องค์พระพิราพเจ้าราชาเทวะมหามุนี
เรื่องราวตำนานของพระพิราพในไทยเรานั้นเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ยังสับสนวกวนอยู่มากเพราะ พระพิราพที่เป็นครูสูงสุดทางนาฏศิลปนั้น กลับมีชื่อและลักษณะไปพ้องกับยักษ์วิราธ (พิราพป่า) ในเรื่องรามเกียรติ์ซึ่งมีนิสัยเกเร ตามท้องเรื่องเดิมๆ ยักษ์วิราธ(พิราพป่า) นั้นเป็นเทวอสูรอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงษ์ ลักลอบรักกับนางฟ้าตนหนึ่ง จึงถูกท้าวเวสสุวัณสาปให้เป็นยักษ์ป่าชื่อวิราธ แปลว่าผู้กระทำผิด แต่มีฤทธิ์มาก เพราะได้กำลังพระสมุทรพระเพลิง ได้พรไว้ว่าผู้ที่หลงเข้ามาในเขตสวนของตนเชิงเขาไกรลาสสามารถถูกจับกินได้ ภายในสวนนี้มีต้นพวาทองต้นหนึ่งยักษ์วิราธรักมาก
ต่อมาพระราม พระลักษณ์และนางสีดาหลงเข้ามาในสวน พวกยักษ์บริวารของยักษ์วิราธต่างเข้ารุมทำร้ายแต่โดนพระลักษณ์แผลงศรล้มตายสิ้น ครั้นยักษ์วิราธออกมาตรวจสวนพบว่าลูกน้องล้มตายต้นไม้ก็หักล้มเป็นอันมากก็โกรธ พอเห็นพระราม พระลักษณ์ นางสีดาเข้าก็หมายทำร้าย ล
กตัวนางสีดาบันดาลให้อากาสแปรปรวนวิปริตมืดมิดไปหมด พระรามแผลงศรให้สว่าง พอเห็นตัวยักษวิราธก็แผลงศรสังหาร ยักษ์วิราธล้ม
ยังมีเล่าอีกตอนหนึ่งว่าครั้งหนึ่งยักษ์วิราธเห็นพระอินทร์เหาะผ่านมาเห็นแล้วอิจฉาพระอินทร์ทนไม่ไหวก็เลยเหาะเข้าไปต่อสู้ พระอินทร์สู้ไม่ได้และโดนแย่งมงกุฏ พระพิราพเอามงกุฏมาใส่เที่ยวเล่น กลายเป็นพิราพทรงเครื่อง บางคนกล่าวว่าเป็นพิราพครองเมืองซึ่งเป็นการเรียกผิดๆ
อีกประการหนึ่งที่มีพระพิราพบวชนั้นก็เป็นเรื่องผิดๆเพราะในเนื้อเรื่องรามเกียรติ์ไม่มีตอนไหนที่ยักษ์วิราธ(พิราพ)ทรงพรตหรือบวชเลย เป็นคำเรียกผิดๆ เชื่อผิดๆ ศึกษาผิดๆ
นี่คือประวัติของพระพิราพ(วิราธ) หรือพระพิราพป่าในเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งต่อมามีการวินิจฉัยว่าทำไมละครตัวนี้จึงกลายมาเป็นครูสูงสุดทางนาฏศิลป
จนต่อมาได้ข้อสรุปเป็นที่แน่ชัดว่า พระพิราพที่เป็นครูสูงสุดและศักดิ์สิทธิ์ยิ่งในทางนาฏศิลปนั้นเป็นคนละองค์กันกับวิราธหรือพระพิราพป่าในเรื่องรามเกียรติ์
ความจริงที่เป็นคือ พระพิราพที่เป็นครูสูงสุดและศักดิ์สิทธิ์ในทางนาฏศิลปนั้นแท้จริงคือ อวตารปางหนึ่งของพระอิศวร เสมือนหนึ่งพระแม่กาลีซึ่งเป็นอวตารปางหนึ่งของพระอุมา
ชื่อเดิมๆ จะเรียกกันว่า พระไภรวะ พระไภราวะ หรือพระไภราพ ซึ่งต่อมาเพี้ยนเป็นพิราพ และมาพ้องกับวิราธในเรื่องรามเกียรติ์ จนกลายเป็นชื่อเดียวกันเข้า รูปก็ยักษ์เหมือนๆกัน นานวันก็เลยกลืนกันไปนั่นเอง กลายเป็นชื่อเดียวกัน ตัวเดียวกันไป
แท้จริงแล้วเรื่องของพระไภราพ หรือพระไภรวะ หรือพระพิราพนั้นเป็นภาคหนึ่งของพระอิศวร ที่เป็นภาคดุ และมีคติการสร้างหลายแบบด้วย เพราะในลุ่มแม่น้ำโอริสสามหานทีนั้นมีการพระไภรวะ ที่ครึ่งหนึ่งเป็นพระไภรวะอีกครึ่งหนึ่งเป็นพระสุริยะเทพปางอัสดงคต นับว่าแปลกไม่น้อย แต่ก็ไม่ผิดแปลกเท่าไหร่ เพราะพระพิราพหรือพระไภรวะนั้นเป็นเทพแห่งสงคราม ความตาย และเหมาะกับเวลาราตรีหรือสิ้นแสงตะวัน ดังนั้นจึงมีคติการสร้างโดยการรวมเอาพระสุริยะเทพปางอัสดงและพระไภรวะมารวมเข้าไว้ด้วยกัน
พระไภรวะ เป็นเทพแห่งความตาย โรคร้าย ภัยสงคราม แต่ในขณะเดียวกันเนื่องจากเชื่อว่าพระองค์เป็นเทพแห่งการกำจัดภูติผีปีศาจ ขจัดอัปปมงคลเสนียดจัญไรทั้งหลายให้สิ้นไป ด้วยเหตุนี้จึงเกิดคติการนับถือ โดยเชื่อว่าพระองค์จะช่วยขจัดโรคภัยไข้เจ็บ ประทานชีวิตที่ดี ขจัดซึ่งภูติผีปีศาจสิ่งชั่วร้ายที่มองไม่เห็นได้
คติการนับถือพระไภรวะ มาด้วยกันกับนาฏศิลป ซึ่งจะเห็นได้อยู่แล้วว่าครูบาอาจารย์ทางนาฏศิลปที่เป็นเทพเจ้านั้นล้วนเป็นเทพทางพราหมณ์ทั้งนั้น การนับถือพระไภรวะ หรือพระพิราพก็เช่นเดียวกัน ชาวนาฏศิลปเชื่อว่าพระองค์เป็นผู้ขจัดอุปทวอันตราย ขจัดซึ่งเสนียดจัญไรต่างๆ แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นครูที่แรง หากกระทำกิจใดๆเกี่ยวกับพระองค์มักมีอาถรรพณ์น่ากลัวเกิดขึ้น จึงเป็นที่เคารพยำเกรงเสมอมา
บทบาทของพระพิราพตามบทพระราชนิพนธ์นั้นดูเหมือนจะน้อยนิดและไม่ได้สลัก สำคัญอะไร แต่ทว่าในความจริงแล้วกลับตรงกันข้าม องค์พระพิราพในระบบความเชื่อของฝ่ายดุริยางคศิลป์และนาฏศิลป์นั้น ล้วนแต่เคารพ ยำเกรงและถือว่าท่านเป็นบรมครูในด้าน นาฏดุริยางคศิลป์ ที่ทรงมหิทธิฤทธิ์สูงสุด ดังปรากฏในพิธีกรรมการไหว้ครู ครอบครู ดนตรีและนาฏศิลป์ไทยที่มีมาแต่ช้านาน
พิธีกรรมการไหว้ครู ครอบครู เป็นพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ที่ศิลปินทั้งดุริยางคศิลป์และนาฏศิลป์ ให้ความเชื่อมั่นศรัทธา ด้วยต่างถือคุณธรรมข้อความกตัญญูไว้เป็นที่ตั้ง และเป็นความเชื่อและจารีตโบราณที่สืบต่อกันว่า สรรพวิชาความรู้ในโลกนี้ ล้วนแต่มีครูเป็นต้นเค้าทั้งสิ้น
ในทางศิลปการแสดง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนาฏศิลป์ไทย มีความเคร่งครัดอย่างยิ่งในการแสดงความเคารพครูบาอาจารย์ ด้วยถือว่าวิชาการเหล่านี้ได้มาแต่องค์พระเป็นเจ้าสูดสุดในศาสนาพราหมณ์ คือองค์พระอิศวรเป็นเจ้า และ ในการแสดงโขน ละครแต่ละครั้งจึงต้องจัดมณฑลพิธีที่บูชา และอัญเชิญเศียรพระพิราพและพระภรตฤษี ตั้งคู่กันไว้บนที่บูชาเสมอ
ในพิธีไหว้ครูครอบครูนาฏศิลป์หรือดุริยางคศิลป์ ก็เฉกเช่นเดียวกัน องค์พระพิราพเป็นเทพเจ้าที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ต้องมีการเชิญเศียรองค์พระพิราพมาประกอบพิธีไหว้ครูและครอบครูอย่างขาดไม่ ได้ ดังปรากฎเป็นหลักฐานที่มีการบันทึกในพระตำราครอบโขนละคอน ฉบับหลวงตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ ๔ สืบมาจนถึงปัจจุบัน ที่ครูผู้ประกอบพิธีจะทำการอ่านโองการเชิญองค์พระพิราพมารับเครื่องสังเวย ปี่พาทย์จะทำเพลงองค์พระพิราพ ซึ่งเป็นเพลงประจำองค์ท่าน เสมือนว่าท่านได้ในมณฑลพิธีไหว้ครูนี้ ครั้นในลำดับขั้นตอนของพิธีครอบซึ่งหมายถึงการที่รับเข้าเป็นเครือของศิลปิน หรือเพื่อประสิทธิ์ประสาทความเป็นครูแก่ผู้จะนำวิชาไปสั่งสอนศิษย์สืบไป ครูผู้อ่านโองการจะทำการครอบเทริดโนรา เศียรพระภรตฤษี และเศียรพระพิราพ ในลำดับสุดท้ายแก่ผู้เข้าร่วมพิธี ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันถึงความสำคัญของครูอสูรเทพตนนี้ได้เป็นอย่างดี
คาถาบูชาองค์พระราพเจ้า
อิมัง พุทธัง องค์พระพิราพัง ขอเอหิจงมา
ธัมมัง องค์พระพิราพัง ขอเอหิจงมา
สังฆัง องค์พระพิราพัง ขอเอหิจงมา
พุทโธ สิทธิฤทธิ ธัมโม สิทธิฤทธิ สังโฆ สิทธิฤทธิ
สุขะ สุขะ ไชยะ ไชยะ ลาภะ ลาภะ
สัพพะธัมมานัง ประสิท